การส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจเชิงพาณิชย์(กระถินเทพา)


- โรงเพาะกล้าไม้

             ส่งเสริมให้เกิดโรงเพาะกล้าในชุมชน ผลิตกล้าพันธุ์ไม้กระถินเทพาและพันธุ์ไม้อื่น ๆ สนับสนุนโครงการปลูกไม้ยืนต้น เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องต้นกล้า และบริหารจัดการกล้าไม้ให้เพียงพอ ต้นกล้าที่จะนำไปปลูกจะมีความสมบูรณ์ มีอายุที่เหมาะสม มีสายพันธุ์ที่เหมาะสม โดยการเพาะเมล็ดจากการรวบรวมโดยกรมป่าไม้ และแหล่งรวบรวมเมล็ดพันธุ์อื่น ๆ ตามความต้องการ โรงเพาะกล้าส่วนกลาง ขนาดกว่า 1 ไร่ สามารถเพาะปลูกต้นไม้ได้มากกว่า 3 แสนต้นต่อปี และมีพื้นที่เครือข่ายในจังหวัดใกล้เคียง สามารถผลิตกล้าพันธุ์ไม้ได้กว่า 2 แสนกล้าพันธุ์ต่อปี มีระบบให้น้ำที่เหมาะสมสนับสนุนให้ต้นกล้าเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ โดยผู้ดูแลที่ได้รับการฝึกอบรมและมีความสามารถโดยเฉพาะ

             

- แปลงต้นแบบ 10 ไร่

             เป็นการออกแบบจัดสรรพื้นที่เพื่อปลูกพืชแบบผสมผสาน ด้วยการปลูกไม้เบิกนำเป็นต้นกระถินเทพา และเสริมด้วยหญ้าเนเปียร์ระหว่างแถวที่ปลูกต้นไม้ โดยจำลองพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 10 ไร่ ต้นกระถินเทพาเป็นไม้โตเร็วสามารถเก็บเกี่ยวใช้เนื้อไม้ได้เมื่ออายุ 8 ปีขึ้นไป และหญ้าเนเปียร์เป็นพืชที่ให้ผลผลิตเร็วและต่อเนื่อง โดยให้ผลผลิตในครั้งแรกหลังปลูก 90 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ 4 – 6 ครั้งต่อปี ทำให้ผู้ปลูกมีรายได้จากการปลูกพืชอย่างสม่ำเสมอระหว่างรอตัดต้นกระถินเทพาในแปลง แปลงต้นแบบจะจำลองการจัดสรรพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่ เพื่อเข้าสู่กระบวนการขอสินเชื่อและคาร์บอนเครดิตได้ในอนาคต ซึ่งเป็นธุรกิจสีเขียว

                    

- บ้านไม้ (ไม้กระถินเทพา) ต้นแบบ

             ส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้เกิดการใช้ไม้กระถินเทพา โดยขึ้นทะเบียนสั่งจองไม้ที่มาจากที่ดินมีการครอบครองถูกต้องของเกษตรกรมาจัดการสร้างบ้านพักอาศัย โดยได้ทำบ้านต้นแบบจากต้นกระถินเทพาที่ได้รับการเลื่อยในโรงเลื่อยชุมชน ซึ่งเป็นไม้ที่มีสีสันและความสวยงาม แข็งแรงเพียงพอสำหรับการทำอาคารบ้านเรือน เพื่อให้เกษตรกรผู้ที่สนใจต้องการมีบ้านพักอาศัย หรืออาคารสำหรับทำกิจกรรมสร้างรายได้อื่น ในราคาที่เหมาะสม จับต้องได้ และมีความสามารถในการผ่อนชำระคืนจากการปลูกไม้ยืนต้นและปลูกพืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์
            การสร้างบ้านไม้ มีการฝึกอบรมด้านเทคนิค โดยใช้ช่างในชุมชนดำเนินการสร้างบ้านให้มีมาตรฐาน มีความมั่นคง แข็งแรง และยังสามารถออกแบบให้เข้ากับความต้องการของเกษตรกร เลือกแบบ ขนาด และราคาได้

                    

Simple Map

- กิจกรรมต่อเนื่อง
     - บ่อบาดาล

                  เพื่อแก้ปัญญาการขาดแคลนน้ำในแปลงปลูกพืชพลังงาน และพืชอาหารสัตว์ให้ได้ผลผลิตที่สม่ำเสมอ และเป็นการบริหารความเสี่ยงไม่มีพื้นที่ในการกักเก็บน้ำ โดยการเจาะบาดาลใช้น้ำใต้ดินเพื่อนำน้ำขึ้นมาใช้ในการเกษตร โดยแปลงทดลอง 10 ไร่ ใช้บ่อบาดาล 1 บ่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน โดยมีน้ำ 3 – 6 คิว/ชั่วโมง

             

     - ระบบโซลาร์เซลล์

                  เราได้ใช้ระบบพลังงานสะอาดมาประยุกต์ในพื้นที่แปลงปลูกพืช โดยการใช้ระบบโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟจากแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในการดูดน้ำจากบ่อบาดาลขึ้นมาใช้ในการเกษตรอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีแสงอาทิตย์ส่งมายังแผงโซลาร์เซลล์ จะทำให้มีกระแสไฟไปเลี้ยงให้ปั๊มน้ำทำงาน และหยุดเมื่อแสงอาทิตย์อ่อนลง ซึ่งง่ายต่อการใช้งานของเกษตรกรและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นการสนับสนุนธุรกิจสีเขียวอย่างมากขึ้น

                    

     - ระบบส่งน้ำ กักเก็บน้ำ และระบบน้ำในแปลง

                  เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องน้ำที่มีปริมาณน้อยในหน้าแล้ง จึงจำเป็นต้องวางแผนระบบการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจัดหาอุปกรณ์ในการจัดเก็บน้ำบนดินให้เหมาะสม และวางท่อส่งน้ำจากที่เก็บน้ำไปยังแปลง เพื่อทำระบบน้ำหยด แทนการรดน้ำแบบอื่นที่ใช้นำปริมาณมากกว่า โดยการใช้ท่อ PE วางไปยังแนวพื้นที่ที่ต้องการจะรดน้ำ เจาะหัวน้ำหยดเพื่อรดน้ำพืชได้ทุกเวลา ต่อเนื่อง เพิ่มความชุ่มชื้นในดินในระยะเวลาที่นานกว่า

                    

     - ทะเบียนจองไม้เดิม ตัดโค่น ชักลาก และโรงเลื่อย

                  ส่งเสริมให้มีการตัดไม้ใช้เนื้อไม้ตามอายุของไม้แต่ละประเภท โดยต้องสำรวจต้นไม้เดิมที่ถึงอายุการตัดโค่นแล้ว เพื่อทำสัญญาซื้อขายจากที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ของเกษตรกรมีการครอบครองอย่างถูกกต้อง โดยใช้โปรแกรมการขึ้นทะเบียนต้นไม้ทำเอกสารให้ครบถ้วน การขึ้นทะเบียนต้นไม้ก่อนตัดโค่น จะระบุพิกัดของต้นไม้ที่ต้องการซื้อขาย และสามารถวางแผนการตัดโค่นได้อย่างเป็นระบบก่อนทำสัญญาซื้อขาย
                  เมื่อตัดโค่นต้นไม้แล้วต้องทำทะเบียนนำไม้จากแปลงไปยังโรงเลื่อยของชุมชนเพื่อแปรรูปให้เป็นไปตามขนาดที่ต้องการ เพื่อส่งไปยังโรงแปรรูปไม้ให้จัดการไม้แปรรูปในขั้นตอนต่อไป

                    

     - โรงแปรรูปและจำหน่ายไม้แปรรูป

                  ส่งเสริมให้มีโรงแปรรูปไม้ชุมชน ก่อให้เกิดจ้างงานคนในชุมชน จัดหาอุปกรณ์ที่มีความปลอดภัยให้กับแรงงาน เพื่อนำไม้ที่ได้รับจากโรงเลื่อยมาเก็บรักษา และจัดการไม้เพื่อพร้อมใช้สำหรับงานต่าง ๆ โรงงานจะดำเนินการให้เกิดสินค้ามากมายเพื่อจำหน่ายไปให้กับลูกค้าใกล้เคียง หรือเครือข่ายเป็นการสนับสนุนให้ใช้ไม้จากชุมชน

                    

     - หลักประกันและคาร์บอนเครดิต

                  ส่งเสริมให้ผู้ปลูกต้นกระถินเทพาขึ้นทะเบียนพื้นที่ปลูก และขึ้นทะเบียนต้นไม้โดยใช้ระบบประเมินมูลค่าต้นไม้ เพื่อระบุตำแหน่งของแหล่งที่ดินปลูกต้นไม้ เพื่อแยกแยะระหว่างไม้ป่าและไม้ปลูก และทราบถึงมูลค่าของต้นไม้ในแปลงปลูกได้ตามอายุขณะประเมิน เกษตรกรสามารถใช้ทรัพย์สินจากต้นกระถินเทพาในที่ดินที่มีการครอบครองถูกกฎหมายเป็นหลักประกันเพื่อลงทุนในกิจกรรมอย่างอื่นได้ ซึ่งทรัพย์สินประเภทต้นกระถินเทพาจะเพิ่มมูลค่าในทุกปีที่มีการประเมินก่อนการตัดโค่น การปลูกกระถินเทพาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจสีเขียว ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถตัดโค่นและปลูกใหม่ได้อย่างเป็นระบบ
                  ต้นไม้เหล่านี้ดูดซับคาร์บอนในอากาศได้ ในต้นไม้หนึ่งต้นสามารถดูดคาร์บอนมาเก็บไว้ในลำต้นได้หลายตัน เมื่อมีต้นไม้ดูดซับคาร์บอนจำนวนมาก ซึ่งจำนวนที่ลดได้สามารถขึ้นทะเบียนเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขาย เพื่อนำไปใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กร บุคคล งานบริการ หรือจากการผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้

ด้านปฏิบัติการ


ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
การผลิต
การถนอนและแปรรูป เครื่องจักร

พัฒนาพื้นที่เป้าหมาย


เหนือ
อีสาน
กลาง
ใต้

งานบริการ
  • การปลูกหญ้าเนเปียร์
  • การเลี้ยงโคเนื้อ
  • โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ
  • ปุ๋ยอินทรีย์
  • หลักประกันทางเลือก
  • ที่ปรึกษาด้านอาชีพ
  • สินค้า
  • ปุ๋ยอินทรีย์สูตรสำเร็จ
  • หญ้าหมัก
  • ผลผลิตทางการเกษตร
  • ผลิตภัณฑ์แปรรูป
  • การขนส่ง